หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แรงบันดาลใจจากหวงเฟยหง ๒


                       "จากหวงเฟยหงสู่ความฝันอันเป็นแรงบันดาลใจสู่ฝันการเชิดสิงโต"



การเชิดสิงโตแบบเทียนถ่า






 




                                            
                             การเชิดสิงโตแบบเทียนถ่า

          การเชิดสิงโตในวัดฉีเถา  อำเภอเซียงเฟิน  มณฑลซานซี เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุยและถัง สืบทอดยาวนานผ่านราชวงศ์ซ่ง  หยวน  หมิง  และชิงมาจนถึงปัจจุบัน เรียกกันว่า “การเชิดสิงโตแบบเทียนถ่า”
 



      การเชิดสิงโตแบบเทียนถ่ามี เอกลักษณ์ที่ความหวาดเสียว อันตราย ตื่นตาและสวยงาม จะตั้งเวทีสูงเหมือนเจดีย์ การแสดงมีการขึ้นลงบ่อยครั้ง ให้ความรู้สึกหวาดเสียว ระหว่างการแสดง มีมาตรการป้องกันความปลอดภัยอย่างรัดกุม ดูเหมือนอันตรายแต่ไม่เสี่ยง ตา ลิ้นและหางของสิงโตขยับได้อย่างยืดหยุ่น 



สามารถทำการแสดงโยนผ้าเขียนตัวอักษรออกมาจากปากได้ ผู้ชมรู้สึกตื่นตาในความแปลกใหม่ การเชิดสิงโตเทียนถ่าผสมผสานพละกำลังของคนและหลักการแสดงกายกรรม การแสดงบนเวทีสูงมีท่วงท่าที่งดงามจึงมีเสน่ห์พิเศษประทับใจผู้คน









วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เพราะดูหนังจีนเรื่องหวงเฟยหงทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเชิดสิงโต

          การเชิดสิงโตอันเป็นวัฒนธรรมต้นแบบของชาวจีน  ซึ่งจากประวัติศาสตร์ทราบว่า  คนไทยเราเอาการเชิดสิงโต  มังกรมาจากประเทศจีน  ผ่านมาทางประเทศเวียดนาม  ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี  ทำให้รู้ต่อไปอีกว่า  การเชิดสิงโต  นั้นเป็นศิลปะที่พัมนามาจากการร่ายรำของมวยจีน หรือที่คนไทยมักเรียกว่ากังฟู  แต่ภาษาสากลที่ทั่วโลกใช้เรียก  คือ  วูซู  ดังเห็นได้จากภาพยนต์จีน  เรื่องหวงเฟยหง ๓



 

การเชิดสิงโตแบบสวีสุ่ย








                             การเชิดสิงโตแบบสวีสุ่ย
          มณฑลเหอเป่ยเป็นแหล่งกำเนิดของการเชิดสิงโตแบบภาคเหนือ สมาคมสิงโตหมู่บ้านเป่ยหลี่ อำเภอสวีสุ่ย    ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1925  เป็นสมาคมภาคเอกชน   และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน  การเชิดสิงโตแบบสวีสุ่ยมักจัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนและงานวัดช่วงฤดูใบไม้ผลิ เวลาเชิดจะใช้นักแสดง 2 คน คนที่อยู่ข้างหน้าจับหัวสิงโต คนที่อยู่ข้างหลังก้มตัวลง จับเอวคนข้างหน้า ใส่  “ชุดสิงโต”  ที่ทำจากขนวัว  สองคนนี้ร่วมกันแสดงเป็นสิงโตตัวใหญ่  เรียกว่า “ไท่ซือ” และจะมีนักแสดงอีกคนใส่หน้ากากและชุดสิงโตแสดงเป็นสิงโตตัวเล็ก เรียกว่า “เส้าซือ”



 ยังมีอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “อิ่งซือหลาง” เป็นผู้ถือลูกแก้วเล่นล่อใจสิงโต  ผู้ถือลูกแก้วเป็นคนมีบทบาทสำคัญระหว่างการเชิด  คนผู้นี้ต้องเป็นคนดูสง่า  ต้องมีวิชากังฟูดี  สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ   เช่น  กระโดดข้ามสิงโต กระโดดขึ้นโต๊ะสูง   กระโดดลงจากเสาไม้สูงได้เป็นอย่างดี   ผู้ถือลูกแก้วจะร่วมแสดงกับสิงโตอย่างสอดรับ  เป็นเอกลักษณ์สำคัญของการเชิดสิงโตแบบภาคเหนือ   เอกลักษณ์การเชิดสิงโตของอำเภอสวีสุ่ยคือ มีรูปร่างสง่า หัวสิงโตกลมและใหญ่ ตาสิงโตหมุนได้ ปากกว้าง ดูมีอำนาจ แต่ก็น่ารัก นักแสดงจะทำท่าเพ่งมอง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด หมุนตัว นอน และขยับตัวของสิงโตไปมา  นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงการเดินบนม้ายาว การขึ้นและกระโดดบนแท่นไม้ หมุนตัว 360 องศา และท่าทางต่างๆ
 



        การเชิดสิงโตของอำเภอสวีสุ่ยมีฐานะสำคัญในการแสดงพื้นเมืองของจีนเมื่อ ค.ศ. 1953 เคยเข้าร่วมการแสดงศิลปะพื้นเมืองทั่วประเทศ ที่กรุงปักกิ่งเป็นครั้งแรก  และเข้าร่วมคณะนาฏศิล ไปแสดงที่ต่างประเทศหลายครั้ง  เคยได้รับรางวัลที่หนึ่งจากงานสโมสรเยาวชนโลก ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นที่กรุงบูคาเรสต์  เมืองหลวงประเทศโรมาเนีย  เมื่อเดือนตุลาคม  ค.ศ. 2001 สมาคมกายกรรมมณฑลเหอเป่ยแต่งตั้งหมู่บ้านเป่ยหลี่ให้เป็นหมู่บ้านแห่งการเชิดสิงโตด้านกายกรรม  ปัจจุบันการเชิดสิงโตของอำเภอสวีสุ่ยกำลัง  เผชิญกับวิกฤตเนื่องจากเครื่องมือเชิดสิงโตแพงขึ้น  และยากในการหาคนรุ่นใหม่มาฝึกอบรม







วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขอรวบรวมเหล่าชาวพลพรรคมังกรโลก

     พลพรรคเหล่าพวกพ้องชอบมังกรทั่วโลกถูกรวบรวมกันออกมาปรากฏโฉมพร้อมหน้ากัน

















วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การแสดงเชิดสิงโตในต่างประเทศ

                  ในต่างประเทศมีการแสดงเชิดสิงโต  มักจะกระทำในช่วงตรุษจีน  ไม่ค่อยได้มีการแสดงบ่อยครั้งเหมือนบ้านเรา  และที่น่าสังเกต  คือ  ทีมผู้เชิดสิงโตของต่างประเทศเขามีการจัดระบบของทีมอย่างชัดเจน  ดังการแสดงของทีมเชิดสิงโตนี้จะเห็นได้ว่า  ด้วยพื้นที่ทำการแสดงที่ค่อนข้างคับแคบ  แต่เขาก็สามารถสร้างรูปแบบการเชิดสิงโตกระโดดเสาดอกเหมย ได้ถึง  ๒  ตัว  ในการแสดงชุดเดียว  เรียกว่า  น่าสนใจการจัดรูปแบบการเล่นของเขาทีเดียว

 

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การแข่งขันเชิดสิงโตแบบดั้งเดิมที่ถูกเหิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์

ในต่างประเทศ การแข่งขันเชิดสิงโตเขามิได้จำกัดอยู่แค่เพียงเฉพาะการแข่งขันเชิดสิงโตประเภทกระโดดเสาดอกเหมยแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีการแข่งขันแบบดั้งเดิมโดยใช้อุปกรณ์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์เพื่อสื่อสารออกมาให้ผู้ที่รับชมการแสดงได้เห็น  ได้รับการถ่ายทอด  และรับรู้ถึงความรู้สึกถึงการแสดงออกด้านอากัปกิริยาราชสีห์ ที่ต้องการสื่อสารออกมา  การแข่งขันแบบนี้ในนั้นต่างประเทศเขามีการแข่งขันกันถึงระดับนานาชาติ ลองมาดูการแข่งขันประเภทนี้กันบ้างนะ
 

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเชิดสิงโตปักกิ่ง

   
           หายกันไปนานมากที่เราไม่ได้นำเอาการแสดงสิงโตปักกิ่งหรือสิงโตเหนือมาให้ชม วันนี้ขอนำเอาความน่ารักของสิงโตปักกิ่งมามอบให้แก่ท่าน แต่ที่น่าสนใจ  คือ  อากัปกิริยาราชสีห์  ที่แสดงออกมาช่างชัดเจนเอามาก ๆ

รวมพลพรรคชาวสิงโตโลก

          นานๆ ทีที่เราได้รวบรวมเอากิจกรรมของพี่น้องผู้มีใจรักในการเล่นกีฬาเชิดสิงโต วันนี้ขอนำเสนอเฉพาะเพียงสิงโตใต้ วันหน้าเราจะนำสิงโตเหนือมาวาดลวดลายให้เห็นกันว่าก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสิงโตใต้






มังกร กับความเชื่อตามหลักฮวงจุ้ย

                     มังกรกับความเชื่อตามหลักฮวงจุ้ย








            มังกร  ตามความเชื่อของคนจีนที่ คิดค้นมาเพื่อแสดงความเป็นสัญลักษณ์ของการรวมชนชาติจีน
        เนื่องจากในอดีตนั้น  จีนมีคนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอยู่เป็นจำนวนมาก ชนเผ่าต่างๆ กันนั้นมีวัฒนธรรมต่างๆกันไป จึงทำให้สัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของเผ่านนั้นต่างกันไปด้วย เมื่อมีการรวมชนชาติจีนก็จึงได้มีการนำเอาตัวแทนของสัตว์ประจำเผ่าต่างๆมา รวมกัน เช่น ลำตัวของงู หูของวัว หัวของหมู เขาของกวาง หนวดของแพะ เกล็ดของปลา และ อุ้งเท้าของเหยี่ยว จนได้มาเป็นตัวมังกรอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

     ตามความเชื่อของคนจีนนั้นมังกรเป็นสิ่งที่มีพลังสูงสุด สามารถนำความอุดมสมบูรณ์ ความรุ่งเรือง ความเป็นมงคล รวมไปถึงคุ้มครองพวกเขาได้ จนในยุคหลังๆนั้น มีการนำมังกรมาใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์หรือฮ่องเต้ จึงเรียกฮ่องเต้กันว่าเป็น “ลูกหลานของมังกร” หรือ “โอรสสวรรค์” ตามที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆนั่นเองครับ

     จากสาเหคุนี้ทำให้จึงได้นำเอา “มังกร” มาใช้กับหลักฮวงจุ้ย   โดยเชื่อว่ามังกร  คือ “จุดจ่ายกระแสพลังที่ยิ่งใหญ่” หรือ “พลังงานธรรมชาติ” โดยถูกนำไปเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จาก  “กระแสน้ำ” เนื่องจากน้ำนั้นหลากไหลไม่เคยหยุด  และเมื่อน้ำไหลมาก็พาพลังมาได้หรือให้เราลองคิดง่ายๆว่าหากเราเอาใบไม้ไปลอยไว้ ในน้ำนั้น ใบไม้เคลื่อนไหวตามน้ำไปได้ก็เพราะมีพลังงานที่พาไปนั่นเอง ดังนั้น “มังกรน้ำ” จึงถือว่าเป็น “จุดจ่ายกระแสพลัง” ที่เป็นมงคลมากๆ หรือหากลองสังเกตุเวลาที่เราไปตามแม่น้ำ น้ำตก จะรู้สึกว่าสบายและผ่อนคลาย นั่นก็เพราะกระแสน้ำนั้นมี “พลังปราณ” ที่เสริมพลังชีวิตของร่างกายเราได้ สอดคล้องตามหลักการของนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าการที่น้ำเคลื่อนไหวทำให้สามารถส่ง “อิออนลบ” ออกมาเพื่อมาเสริมพลังชีวิตของเรา
     เลยเป็นที่มาของการเลือกทำเลการอยู่อาศัยของคนจีนหรือซินแสในสมัยก่อนที่ นิยมการเลือกทำเลที่อยู่ริมน้ำนั่นเอง แต่การอยู่ริมน้ำนั้นก็ยังไม่ได้แปลว่าเป็นมงคลเสมอไปครับ เพราะแท้จริงแล้วเราต้องการ “ชัยภูมิที่ดี” ที่นอกจากเห็นจุดจ่ายกระแสพลังแล้ว ยังต้องสามารถสะสมกระแสพลังได้ด้วย เราจึงเคยได้ยินการเลือกทำเลริมน้ำที่ว่า “โค้งโอบดีกว่าโค้งเฉือน” นั่นก็เพราะว่ากระแสน้ำโค้งโอบนั้นจะส่งพลังเข้ามาที่ฝั่งในโค้งได้อย่าง นุ่มนวลกว่า แต่ที่สิ่งสำคัญกว่าในหลักของชัยภูมินั่นคือ “กระแสมามากๆ กระแสไปน้อยๆ” คือเราควรเห็นกระแสน้ำนั้นไหลมาแต่ไกล แต่เวลาไปเห็นเพียงนิดเดียว นั่นจึงแปลว่าเรามี “มังกรน้ำที่เป็นมงคล” ได้อย่างแท้จริง

     คราวนี้ก็คงมีคำถามว่าแล้ว “มังกรภูเขา” นี่มีได้อย่างไรใช้หรือไม่ครับ เพราะดูแล้วก็ไม่เห็นมีความเคลื่อนไหวของกระแสพลังแต่อย่างใด จริงๆแล้ว “มังกรภูเขา” นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังไม่แพ้ “มังกรน้ำ” ทีเดียวครับ เพราะการที่เกิดเขานั้นเป็นเพราะว่าพลังที่อยู่ใต้ดินนั้นอัดแน่นจนกระทั่ง ผิวดินของโลกนั้นรับพลังไม่ไหว จึงดันผิวดินนั้นออกมาจนปูดนูนเป็นภูเขานั่นเอง หรือบางครั้งก็เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจนมาขบกันเป็นแนวเขา จึงถือว่าภูเขานั้นมีพลังซ่อนแฝงภายในอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน แต่การดูมังกรภูเขานั้นต้องใช้ความเชี่ยวชาญมาก  ต้องดูแนวสันเขาที่สวยงามเป็นทิวที่โค้งสวย มีหลายทิวเรียงเชื่อมต่อกันหลายๆ  ทิวภูเขานั้นก็ต้องเขียวชะอุ่มไปด้วยต้นไม้ใบหญ้าที่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นมังกรภูเขาที่มีคุณภาพดี

     ซึ่งการเลือกตำแหน่งของมังกรภูเขาที่มีคุณภาพนั้นก็เลือกยากเช่นเดียวกัน เพราะการอ่านว่า “หัวมงกร” อยู่ตรงไหนนั้นเป็นเรื่องต้องอาศัยประสบการณ์และจินตนาการสูงเหมือนกัน เพราะโดยทั่วไปเรามักจะเข้าใจผิดว่าตำแหน่งที่สูงๆบนเขานั้นดี แต่การเลือกตำแหน่งบนเนินเขาสูงนั้นกลับต้องระวังเพราะโดยทั่วไปแล้วหากเรา ยังเห็นแนวสันเขาไหลเป็นทิวลงไปอยู่ ก็แสดงว่าพลังนั้นยังไหลไปไม่หยุด

     การเลือกทำเลบนเนินสูงนั้นเปรียบเสมือนกับเป็น “หางของมังกร” เท่านั้น การดู “หัวมังกร” นั้นกลับต้องเลือกทำเลที่ต่ำหรือเป็นแอ่งเพื่อให้สะสมพลังได้ หรือถ้าให้ดีเยี่ยมการที่เจอแอ่งน้ำหรือสายน้ำผ่านบริเวณตีนเขานั่นแปลว่า จุดนั้นเป็นจุดที่ต่ำที่สุดที่พลังไหลรวมมา หรือเป็น “หัวของมังกรภูเขา” นั่นเอง จึงเป็นที่มาของชัยภูมิที่ว่า “หน้าน้ำหลังภูเขา” 

     ซินแสในปัจจุบันใช้หลักการของการหาจุดจ่ายกระแสพลังจาก แนวถนน ทางด่วน จุดตัดทางแยก ช่องลม ทางรถไฟฟ้า สนามบิน ฯลฯ ได้หลายทางโดยที่มีคุณภาพไม่แพ้กับมังกรน้ำและมังกรภูเขาครับ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือท่านควรได้รับการประเมินฮวงจุ้ยด้านองศาทิศทาง (Compass Feng Shui Theory) ควบคู่กันไปด้วย เพื่อจะได้เลือกทำเลที่เป็นมงคลกับท่านและสมาชิกในครอบครัวให้เกิด มงคลสูงที่สุด


 


วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเชิดมังกรไฟไท่หาง

                การเชิดมังกรไฟไท่หาง

          ในศตวรรษที่ 19 ชาวไท่หางเริ่มเชิดมังกรเพื่อหยุดโชคร้ายที่คุกคามหมู่บ้านของพวกเขา กว่าศตวรรษต่อมา หมู่บ้านของพวกเขาทั้งหมดได้ถูกกลืนโดยเมืองที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของ   ฮ่องกง  แต่มังกรยังคงผงาดอยู่   ในรมรดกทางวัฒนธรรมของจีน  เริ่มต้นขึ้นในช่วงสองสามวันก่อนเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง  เมื่อ ราว 100 ปีมาแล้ว เริ่มแรกพายุไต้ฝุ่นลูกหนึ่งได้ซัดเข้าสู่ชุมชนชาวประมงและชาวนาของไท่หาง   ตามด้วยโรคระบาด     จากนั้นก็มีงูเหลือมกินปศุสัตว์ในหมู่บ้าน    จนชาวบ้านสุดจะทน    นักพยากรณ์เชื่อว่าวิธีเดียวที่จะหยุดยั้งความวุ่นวายได้คือจัดงานเต้นรอบ กองไฟเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนในระหว่างเทศกาลที่จะมาถึง ชาวหมู่บ้านได้ทำมังกรตัวมหึมาจากฟางข้าว     และปักคลุมด้วยธูป จากนั้นก็จุดธูปเหล่านั้น พวกเขาทำตามคำของนักพยากรณ์ และเชิดสิงโตเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ร่วมกับคนตีกลองและการจุดประทัด แล้วโรคระบาดก็หายไป


 ผู้คนในไท่หางไม่ได้เลี้ยงชีพด้วยการจับปลาและทำนาอีกต่อไป แต่พวกเขายังคงเชิดมังกรไฟเป็นเวลา 3 วันคร่อมช่วงเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง การแสดงนี้มีนักแสดงเข้าร่วม 300 คน ใช้ธูป 72,000 ดอก และเชิดมังกรยาว 67 เมตร ก่อให้เกิดประกายไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ คละคลุ้งไปด้วยควันและความเร่าร้อนที่ไม่หยุดนิ่งตลอดเวลาที่มังกรถูกเชิด และบินถลาไปตามตรอกแคบๆ ของเมืองไท่หาง ประเพณีเก่าแก่ ยืนยงท้าทายกาลเวลา และสดใสมีชีวิตชีวา

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเชิดมังกรและการเชิดสิงโต

            การเชิดมังกรและการเชิดสิงโต

            ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของการแสดงมังกรและการ เชิดสิงโต  ซึ่งได้รับความนิยมจากทุกชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  ทั้งมังกรและสิงโต  ถือได้ว่าเป็นสัตว์ในตำนานที่มีประวัติเก่าแก่และยืนยง ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการแสดงมังกรและการเชิดสิงโตขึ้น ในสมัยโบราณนั้นคนหนุ่มสาวชาวจีนจำนวนมากได้นำเอาการแสดงมังกร และการเชิดสิงโตมาแสดงในเทศกาลตรุษจีน งานวัด  งานมงคลและพิธีฉลองต่างๆ    เป็นสิ่งที่สั่งสมสืบต่อกันมา นับพันปี มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน คือวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้รักษาไว้ให้แก่ลูกหลาน

                        การแสดงมังกร
     “มังกร” ในอดีตตัวมังกรนั้นมีการทำจากหญ้า ไผ่ ผ้าแพร และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อความเป็นศิริมงคล  การสร้างหุ่นมังกรมักกำหนดความยาวของตัวมังกรให้ลงเลขคี่แทนจำนวน เช่น มังกร 9ไม้ ไม้11มังกร มังกร13ไม้และมากสุดคือมังกร29ไม้ มังกร15ไม้ขึ้นไปค่อนข้างเทอะทะ การเชิดไม่คล่องตัวเท่าไหร่นัก  จึงเน้นภาพลักษณ์ที่สวยงาม  การแสดงมังกรจะเน้นความสำคัญในการแต่งกายเป็นพิเศษ มีความเป็นศิปละชั้นสูง ยังมีอีกประเทหนึ่งคือ โคมมังกร จะใช้กระบอกไม้ไผ่สานเป็นทรงกลมคล้ายกรงและติดผ้าโปร่งแสง ภายในจุดเทียนหรือตะเกียงน้ำมัน  งดงามมาก  เมื่อแสดงในยามราตรี   ปัจจุบันการแสดงมังกรได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็นการแสดงที่น่าติดตามชม และเป็นการแข่งขันกีฬาประเภทหนึ่งด้วย
     กระบวนท่าของการแสดงมังกรนั้นมีหลากหลาย มังกร 9 ไม้อาศัยท่วงท่า  และเทคนิคพิเศษ  กระบวนท่าที่มีการแสดง  อาทิมังกรเล่นน้ำ  มังกรเจาะทลวง  หัวและหางมังกรเชื่อมกัน มังกรปัดหางและมังกรลอกคราบ เป็นต้น มังกร 11ไม้ มังกร13ไม้ ให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนท่าการแสดง มังกรทองไล่ตามไข่มุก    การกระโดด   และการลอยตัว   การลงไปในคลื่นทะเล ประกอบกับไข่มุกและกลองชุด  กลายเป็นการต่อสู้ประเภทหนึ่ง
 

 
                              การเชิดสิงโต 


       การเชิดสิงโตเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่ มีท่วงท่าการแสดงที่แข็งแกร่ง ท่าทางหลากหลาย มีประวัติความเป็นมาที่ไม่เหมือนกัน บ้างก็ว่ามาจากตำนาน บ้างก็ว่ามาจากประวัติศาสตร์ จึงทำให้การเชิดสิงโตมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับซับซ้อน ยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้คน เชื่อกันว่าสิงโตคือสัตว์มงคล การเชิดสิงโตสามารถนำมาซึ่งโชคลาภ ดังนั้นทุกๆปีของเทศกาลตรุษจีน งานพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ เราจึงมักจะพบเห็นการแสดงเชิงสิงโตอยู่เป็นประจำ เสียงกลองและประทัดดังกึงก้อง พร้อมๆกับเชิดสิงโตเพื่อขอความเป็นศิริมงคล การเชิดสิงโตเป็นศิลปะที่ยอดเยี่ยมของจีน ทุกครั้งที่จัดเทศกาลหยวนเสี่ยว(เทศกาลหลังวันตรุษจีน15 วัน) วันสำคัญ หรืองานมงคลต่าง ๆ มักจะใช้การเชิดสิงโตเปิดงานเพื่อขอความรุ่งเรือง ความเป็นศิริมงคล ประเพณีเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยสามก๊ก ในและได้แพร่หลายในสมัยราชวงศ์หนานเป่ยเฉา(ราชวงศ์เหนือ ราชวงศ์ใต้) จนถึง
ปัจจุบันมีประวัติศาตร์ความเป็นมายาวนานนับพันกว่าปี
 


 

การแข่งขันเชิดสิงโตนานาช่าติ


วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต ของทีมชาติเมียนมาร์ ในการแแข่งขันระดับนานาชาติ

  ประเทศเมียนมาร์  คิดไม่ถึงว่าจะมีมีเชิดสิงโต  ที่ฝีมือไม่ใช่ย่อยทีเดียว  แม้การแข่งขันครั้งนี้มีความผิดพลาดสูง  แต่ต่อไปคงเป็นทีมที่น่ากลัวอีกทีมหนึ่งอย่างแน่นอน



วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเชืดสิงโตเหนือ หรือที่บ้านเราเรีนกว่าสิงโตปักกิ่ง

                                   

                                การเชิดสิงโตปักกิ่ง

                  มณฑลเหอเป่ยเป็นแหล่งกำเนิดของการเชิดสิงโตแบบภาคเหนือ สมาคมสิงโตหมู่บ้านเป่ยหลี่ อำเภอสวีสุ่ย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1925 เป็นสมาคมภาคเอกชน และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลังสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน  การเชิดสิงโตแบบนี้มักจัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนและงานวัดช่วงฤดู ใบไม้ผลิ เวลาเชิดจะใช้นักแสดง 2 คน คนที่อยู่ข้างหน้าจะจับหัวสิงโต คนที่อยู่ข้างหลังจะก้มตัวลง จับเอวคนข้างหน้า ใส่ “ชุดสิงโต” ที่ทำจากขนวัว สองคนนี้ร่วมกันแสดงเป็นสิงโตตัวใหญ่ เรียกว่า “ไท่ซือ” และจะมีนักแสดงอีกคนใส่หน้ากากและชุดสิงโต แสดงเป็นสิงโตตัวเล็ก เรียกว่า “เส้าซือ” ยังมีอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “อิ่งซือหลาง” เป็นผู้ถือลูกแก้วเล่นล่อใจสิงโต ผู้ถือลูกแก้วเป็นคนมีบทบาทสำคัญระหว่างการเชิด คนผู้นี้ต้องเป็นคนดูสง่า ต้องมีวิชากังฟูดี สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่างๆ เช่น กระโดดข้ามสิงโต กระโดดขึ้นโต๊ะสูง กระโดดลงจากเสาไม้สูงได้เป็นอย่างดี ผู้ถือลูกแก้วจะร่วมแสดงกับสิงโตอย่างสอดรับ เป็นเอกลักษณ์สำคัญของการเชิดสิงโตแบบภาคเหนือ เอกลักษณ์การเชิดสิงโตของอำเภอสวีสุ่ยคือ มีรูปร่างสง่า หัวสิงโตกลมและใหญ่ ตาสิงโตหมุนได้ ปากกว้าง ดูมีอำนาจ แต่ก็น่ารัก นักแสดงจะทำท่าเพ่งมอง ยืน เดิน วิ่ง กระโดด หมุนตัว นอน และขยับตัวของสิงโตไปมา นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงการเดินบนม้ายาว การขึ้นและกระโดดบนแท่นไม้ หมุนตัว 360 องศา และท่าทางต่างๆ







ประเภทของหัวสิงโต

ประเภทของหัวสิงโต
สิงโตของชาวจีนสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิงโตเหนือ สิงโตใต้ ดังนี้ 1. สิงโตเหนือ เป็นการนำเอาสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างหุ่นสิงโตให้มีขนยาว ขาเล็ก ร่างเล็กซึ่งผู้เชิดสิงโตต้องสวมชุดสิงโตที่มีขนยาวปกคลุม การเชิดสิงโตเหนืออาจเชิดคนเดียว หรือสองคนก็ได้ สิงโตเหนือ เรียกว่า สิงโตปักกิ่ง 2. สิงโตใต้ นิยมนำมาเชิดกันอย่างแพร่หลาย ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี และฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) แต่ต่อมาภายหลังชาวจีนที่เคยอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน รวมทั้งชาวจีนที่เคยฝึกหัดการเชิดสิงโต โดยเฉพาะ ผู้ที่เคยอยู่อาศัยภายในมณฑลกว่างตงหรือกวางตุ้งได้อพยพไปอยู่ยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก สิงโตกวางตุ้งจึงได้รับ การรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ได้รับรูปแบบการเชิดแบบกวางตุ้ง มาใช้เชิดอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้การเชิดสิงโตยังสามารถแบ่งออกตามรูปร่างลักษณะของหัวสิงโตที่กลุ่มชาวจีนแต่ละกลุ่มเป็น ผู้ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ 1. สิงโตของชาวจีนแคระ หัวสิงโตมีลักษณะคล้ายกับบุ้งกี๋ ใบหน้าจะทาสีให้เป็นลายเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โต ๆ 2. สิงโตกวางตุ้ง หัวสิงโตแบบนี้อาจจะประดับประดากระจกที่หน้า มีการเขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอ ที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง 3. สิงโตไหหลำ กลุ่มชาวจีนไหหลำได้มีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้รูปหัวสิงโต ของกลุ่มชาวจีนไหหลำมีลักษณะแตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด 4. สิงโตแต้จิ๋วหรือสิงโตปักกิ่ง หรือสิงโตกวางเจา มีลักษณะคล้ายกับหมาจู มีขนปุกปุย ตาโต มีโบว์ ที่ศรีษะ และติดกระดิ่งไว้ที่ใต้คาง เวลาที่ทำการแสดงอาจจะทำการแสดงสองตัวขึ้นไป

สีของหัวสิงโต

สีของหัวสิงโต
ชาวจีนใช้สีของหัวสิงโตเป็นเครื่องหมายแทนสัญลักษณ์ของบุคคล ทั้งยังแสดงถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1.หัวสิงโตสีเขียว เรียกว่า “ตั่วกง” หมายถึง เล่าปี่ ตัวละครเอกในเรื่องสามก๊ก ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทน ความมีอำนาจหยิ่งในศักดิ์ศรี มีข้าทาสบริวารมาก 2. หัวสิงโตสีแดง เรียกว่า “ยี่กง” หมายถึง กวนอู ตัวละครในเรื่องสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ โชคลาภ นักต่อสู้ 3. หัวสิงโตสีดำ เรียกว่า "ซากง" หมายถึง เตียวหุย ตัวละครสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์แทนความหนักแน่น ความยุติธรรม การเอาชนะอุปสรรคนานานัปการที่ผ่านเข้ามาในชีวิต 4. หัวสิงโตสีเหลือง เรียกว่า “สี่กง” หมายถึง จูล่ง ตัวละครเรื่องสามก๊ก บางตำราก็แทนกวนเพ้ง เป็น สัญลักษณ์แทนผู้มีอำนาจ ยศศักดิ์

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต
ในอดีตประเทศจีนมีการจัดตั้งคณะสิงโตขึ้น โดยคณะใหญ่ ๆ จะมีผู้เข้าร่วมอยู่ในคณะระหว่าง 70 - 80 คน โดยต้องใช้เวลาในการ ฝึกฝนการเชิดสิงโตไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน จึงจะออกแสดงได้ ทั้งในคณะสิงโตก็ไม่ได้ ฝึกฝนการเชิดสิงโตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการหัดมวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่น ๆ เวลาออกแสดง ในแต่ละครั้งต้องใช้ลานที่มีความกว้างขวางมาก ๆ เพราะต้องทำการแสดงจับคู่ต่อสู้กัน ซึ่งการแต่งตัวนั้น ก็ยังมี ความแตกต่างกัน ที่สำคัญคณะสิงโตของจีนมีการพันแข้ง ที่เรียกว่า คาเกี๊ยว มัดตั้งแต่ข้อเท้า แล้วยังมีผ้าคาดเอว อีกด้วย ดังนั้นคณะสิงโตของชาวจีนในอดีตก็คือ คณะมวยหรือสำนักมวย ที่เรียกว่า “กุ่งอ๊วง” ซึ่งหัวสิงโตที่นำมาใช้ในการเชิดนั้น มีหัวเป็นสีเขียว คิ้วสีขาว ภาษาจีนเรียกว่า “แชไซแปะไบ๊” สิงโตแบบนี้เมื่อถูกนำไปเล่นในที่ ต่างถิ่นมักถูกเจ้าของถิ่นลองดี โดยการส่งนักมวยจีนหรือนักกระบี่กระบองมาขอซ้อมมือ ซึ่งถ้าเกิดต้องพ่ายแพ้แก่ เจ้าของถิ่น ผู้มาเยือนก็ต้องได้รับความอับอายเขา จนต้องรีบเดินทางกลับสำนักมวยของตน แต่ถ้าหากรักจะเล่นก็ ต้องส่งตัวแทนไปคำนับหัวหน้าคณะมวยเจ้าของถิ่นเสียก่อน จึงจะทำให้สามารถแสดงการเชิดสิงโตได้โดยไม่ต้อง ถูกเจ้าของถิ่นลองดี การเชิดสิงโตนั้นเป็นการเลียนแบบอากัปกิริยาของสัตว์ 2 ชนิด คือ 1. ชาวจีนที่อยู่ในเมืองทางเหนือของแม่น้ำฉางเจีย(แม่น้ำแยงซีเกียง)จะแสดงเลียนแบบอากัปกิริยาของ สุนัข 2. ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของแม่น้ำฉางเจีย ได้นำเอากิริยาของแมวมาเป็นต้นแบบ การเชิดสิงโตในยุคแรกใช้ลีลาการร่ายรำเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบำสิงโต แต่หลังจากสมัยของราชวงศ์ชิง จึงค่อย ๆ ถูกหลอมรวมเข้ากับหลักวิทยายุทธ์ การเชิดสิงโตให้ดูสง่างดงาม มีชีวิตชีวา ต้องมีพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ และมั่นคง คนเชิดสิงโตต้องรู้จังหวะการยกเท้า คือ เมื่อยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นก็จะเหลือหลักไว้ยืนเพียงเท้าข้างเดียว ในขณะที่อากัปกิริยาของสิงโตหรือราชสีห์ ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด กลิ้งเกลือกหรืออื่น ๆ ก็ตาม หากผู้เชิดสิงโต ขาดความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่าง ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเชิดสิงโตให้ดูน่าเกรงขาม ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งท่วงท่าของการย่างเท้าที่ใช้ในการเชิดสิงโต ก็คือหลักของการใช้เท้าในการฝึกการต่อสู้ของจีน หรือ มวยจีนนั่นเอง

กีฬาเชิดสิงโต

กีฬาเชิดสิงโต
กีฬาเชิดสิงโต ถึงแม้จะมีกำเนิดจากประเทศจีน แต่กลับกลายเป็นกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขัน พร้อมจัดตั้งสหพันธ์กีฬามังกร สิงโตนานาชาติขึ้นมา เพื่อสร้างกติกาการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยมีแกนนำ คือ ประเทศมาเลเซีย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย
ในอดีตประเทศไทยเคยมีการจัดการแข่งขันความสามารถการเชิดสิงโตของคณะสิงโต ในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ ทั้งนี้มักขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เช่น การแสดงการต่อตัวโดยให้คนขึ้นไปยืนเหยียบอยู่บนบ่า หรือเหยียบศีรษะต่อกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ระหว่าง 5 - 9 ชั้น การใช้ไม้กระบอกยาว ๆ (ประมาณ 5 เมตร) เจาะรูทะลุ ทางตอนปลายแล้วเอาไม้สอดเป็นขั้นไว้ สำหรับให้ขึ้นไปยืนต่อตัว แถมบางครั้งยังเอาเด็กเล็ก ๆ ขึ้นไปยืนบนบ่า แล้วแกล้งทำเด็กหล่นลงจากบ่า แต่คว้าขาไว้ทัน การไต่เสาไม้ไผ่ที่ทาด้วยน้ำมันลื่น เพื่อปีนขึ้นไปเอาเงินที่ผูกไว้ที่ ปลายเสา การพุ่งตัวรอดบ่วงไฟ เป็นต้น ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาสิงโตของไทย ได้รับเอารูปแบบการแข่งขันกีฬา สิงโตแบบสากลเข้ามาใช้ในการแข่งขัน นั่นคือการเชิดสิงโตอยู่บนพื้น และการกระโดดขึ้นไปเชิดสิงโตอยู่บนเสา ต่างระดับหรือบนแป้นเสาดอกเหมย โดยแสดงการกระโดดที่ต้องใช้ท่าความยากง่ายผสมผสานไปกับจิตนาการของ ผู้เชิดสิงโต ที่ต้องการพยายามบอกเล่าเรื่องราวผ่านทางท่าทางหรืออากัปกิริยาของสิงโตที่แสดงออกมา ซึ่งปัจจุบัน การแข่งขันกีฬาสิงโตแบบสากลนี้ กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในประเทศไทย และในแต่ละปี ก็มีหลาย หน่วยงานได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นมาหลายรายการ ส่งผลให้คณะสิงโตของไทยมีพัฒนาการจนสามารถเข้าไปร่วม ทำการแข่งขันกีฬาสิงโตในระดับนานาชาติอยู่หลายคณะ

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬาเชิดสิงโต ได้แก่ กลอง, ฉาบ หรือแฉ, โล้หรือเง๊ง(มีรูปร่างเหมือนฆ้อง แต่แตกต่างกับ ฆ้องตรงที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลาง), หัวสิงโต นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นฉาก ที่ใช้ในการแสดง เปรียบเทียบแทนธรรมชาติต่าง ๆ ปัจจุบันอุปกรณ์แบบนี้มักเรียกกันว่า เสาดอกเหมยหรือโต๊ะ ที่ใช้ทำการแสดง ซึ่งทำจากเหล็กที่มีระดับของความสูงแตกต่างกันไป โดยให้บางส่วนสมมุติแทนภูเขา หุบเหว แม่น้ำ และสะพาน ตามจินตนาการที่ผู้เชิดต้องการแสดงบอกเล่าเรื่องที่ตนใช้ในขณะทำการแสดง อันเป็นวิธีการ สร้างความเข้าใจ ทั้งยังสื่อสารจินตนาการระหว่างผู้เชิดสิงโตกับผู้ชม ให้ได้รับอรรถรสในการเข้าชมการแสดง ตลอดจนบังเกิดความสนุกสนานร่วมไปกับผู้เชิดสิงโต

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต มังกรทุกชนิด

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต  มังกรทุกชนิด
จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต มังกรทุกชนิด อาทิ หัวสิงโต หัวมังกร กลอง แฉ เง้ง เสาดอกเหมย ชุดตาแป๊ะ อาซิ้ม ธงจีนนำตณะสิงโต เครื่องดนตรีจีน และอื่น ๆ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 0868379952

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ
ทีมสิงโตที่เข้าร่วมแข่งขันต้องประกอบด้วยนักกีฬาที่ลงสนามแข่งขันไม่ต่ำกว่า 6 คน แต่ต้องมีจำนวนไม่เกิน 8 คน และอาจมีผู้รักษาความปลอดภัยในขณะที่ทำการแข่งขัน(ทำการแสดง)จำนวนไม่เกิน 4 คน เวลาที่ใช้ในการทำ การแสดงต้องไม่ต่ำกว่า 10 นาที แต่ต้องไม่เกิน 15 นาที โดยต้องทำการแข่งขันอยู่บนแป้นเสาดอกเหมยต่างระดับ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากเครื่องแต่งกาย มารยาท อุปกรณ์ การดำเนินเรื่อง รูปร่างสิงโต การประสาน การเคลื่อนไหวของเท้าผู้ที่เชิดสิงโตระหว่างส่วนหัวกับส่วนหาง ความสอดคล้องของมโหรีที่มีต่อลีลาการเชิดสิงโต การแสดงออกซึ่งอากัปกิริยาของสิงโต(กิริยาอาการตกใจ ร่าเริง โกรธ สงสัย หลับใหล และอื่น ๆ)และความสามารถ ในการเล่นท่ายากทางเทคนิค โดยแต่ละท่าที่ทำการแสดงนั้น มีระดับของคะแนนตามความยากง่ายของท่าที่ใช้แสดง หากผู้เชิดสิงโตสามารถแสดงท่าเทคนิคนั้น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะได้คะแนนในท่านั้น ๆ ไป แต่หากผู้เชิดสิงโตทำ การแสดงท่าเทคนิคนั้นซ้ำหลายครั้ง ก็จะได้รับคะแนนเพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการบวกรวมตามจำนวนครั้งที่ทำไป

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต
การแข่งขันกีฬาสิงโตนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในนานาประเทศมานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศ ในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้กีฬาสิงโตมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็จริง แต่ทว่ากลับ ไม่สามารถเผยแพร่กีฬาสิงโตของตนให้ออกไปได้อย่างกว้างไกล ตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ กลับมีอิทธิพลต่อการเผยแพร่กีฬาสิงโตเป็นอย่างมาก ทั้งส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต วางกฎระเบียบกติกาการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตขึ้น พร้อมจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตขึ้นในหลายระดับ ดังเห็นว่า ในปัจจุบันหลายประเทศได้จัดให้มีการแข่งขันสิงโตนานาชาติขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเองก็เคยจัดให้มีการแข่งขัน กีฬาสิงโตระดับนานาชาติหลายครั้ง ที่สำคัญคือ การจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตชิงแชมป์โลกที่มักจัดการแข่งขัน ขึ้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกครั้งนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมชมการแข่งขันเป็น จำนวนมาก แม้ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันในอัตราที่สูงก็ตาม ซึ่งจากความสนใจของประชาชนใน หลายประเทศ มิใช่แต่เพียงประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในประเทศทางแถบเอเชียเท่านั้น แต่ก็ยังได้รับความสนใจจาก ประชาชนในทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอื่น ๆ ดังเห็นได้จากการที่ประเทศเหล่านี้ได้ส่งคณะสิงโตของตน เข้าร่วมทำการแข่งขันในระดับนานาชาติอยู่บ่อยครั้ง จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่อีกไม่นานการแข่งขันกีฬาสิงโต คงต้องถูกบรรจุเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากความสนใจของคนทั่วโลกที่มีต่อกีฬาสิงโตอย่างมาก นั่นเอง

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย
สิงโตที่เชิดอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันแม้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็ตาม แต่ทว่าที่แพร่หลายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยทุกวันนี้ มิได้เป็นการนำเข้ามาของชาวจีน แต่คนไทยรับเอารูปแบบการเชิดสิงโตผ่านมาทางญวณ หรือ เวียดนาม โดยญวนได้รับแบบอย่างมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง ก่อนนำเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย ดังที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า องเชียงสือ (เจ้าญวน) ได้ฝึกหัดคนญวนให้เล่นสิงห์โตล่อแก้ว และสิงห์โตคาบแก้ว เพื่อใช้ในการเล่นถวายตัวแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-โลก(รัชกาลที่ 1) ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้มีการเล่นถวายหน้าพลับพลาที่ประทับ ในเวลาที่มีมหรสพแบบแผน ทำให้การเล่นสิงโตมีการเล่นเป็นประเพณีสืบจนถึงรัชกาลต่อ ๆ มา ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นได้ว่า การเชิดสิงโตในประเทศไทยมีมานานนับร้อยปี สิงโตที่คนไทยรู้จัก และได้เห็นการเชิดสืบมาถึงปัจจุบันนั้น เป็นสิงโตทางตอนใต้ ของประเทศจีน อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวจีนที่ฝึกฝนศิลปะกังฟู การเชิดสิงโตของประเทศไทยอาจแตกต่าง กับประเทศจีน ตรงที่คนจีนจะเชิดสิงโตเฉพาะในช่วงตรุษจีนเป็นสำคัญ ขณะที่คนไทยกลับนำสิงโตมาใช้เชิดกัน เกือบทุกเทศกาล และวันมงคลต่าง ๆ อาทิ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันแต่งงาน วันเกิด งานฉลองต่าง ๆ เป็นต้น