หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มุมมองของชาวจีนที่มีต่อมังกร


มังกรจีน (อักษรจีนตัวเต็ม: 龍; อักษรจีนตัวย่อ: 龙; พินอิน: lóng; ฮกเกี้ยน:เล้ง) เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นอันหนึ่งของจักรพรรดิและวัฒนธรรมจีน มีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ๆ ชนิดผสมผสานกัน ลักษณะลำตัวยาวเหมือนงู มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่บริเวณขากรรไกรด้านบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนกับไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนกับของสิงโตอยู่บน คอ , คาง และข้อศอก มีเกล็ดสีเขียวเข้มทั่วทั้งบริเวณลำตัวรวมทั้งสิ้น 117 เกล็ด ซึ่งเกล็ดมังกรจำนวน 81 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยางซึ่งเป็นเกล็ดที่มีความดี เกล็ดมังกรจำนวน 36 แผ่น มีคุณสมบัติเป็นหยินซึ่ง จะเป็นเกล็ดที่มีความชั่ว ลักษณะเขาของมังกรจะมีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีขา 4 ขาและกรงเล็บแข็งแรง
เกล็ดของมังกรจีนนั้น จะมีลักษณะเฉพาะเปลี่ยนไปตามแต่ละชนิดของมังกร ตั้งแต่สีเขียวเข้มจนถึงสีทอง หรือบางแหล่งกล่าวกันว่า มังกรจีนนั้นมีหลายสี เช่น สีน้ำเงิน สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีเหลือง แต่ในกรณีของมังกรชนิด chiao หลังของมังกรจะเป็นสีเขียว บริเวณด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม มังกรจีนชนิดหนึ่งจะมีปีกที่ด้านข้างของลำตัว และสามารถที่จะเดินบนน้ำได้ แต่สำหรับมังกรจีนอีกชนิดหนึ่งเมื่อสะบัดแผงคอไปข้างหน้าและข้างหลัง จะทำให้เกิดเสียงที่ฟังดูเหมือนกับเสียงขลุ่ย

มังกรจีนจะมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้สามารถบินได้ เรียกโหนกที่อยู่บนหัวว่า ch’ih muh แต่ถ้ามังกรจีนตัวใดไม่มีโหนกที่บริเวณหัว จะกำคทาเล็ก ๆ ที่เรียกว่า po-shan ซึ่งสามารถทำให้มังกรลอยตัวในอากาศได้(ปัจจุบัน ประเทศทางตะวันตก ก็เพิ่งเจอ วัตถุลึกลับบางอย่างสามารถลอยในอากาศได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ) ในประเทศจีนคนโบราณมีความเชื่อกันว่ามังกรคือ สัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน ได้รับการกล่าวกันว่ามีความเป็นมิตร มากกว่าความร้ายกาจ เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุข และความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง พบได้ใน แม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน มังกรได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ในราชวงศ์ชิง กษัตริย์จะนั่งบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตำนานเจ็ดนางฟ้าของชาวจีน



         ตำนานเจ็ดนางฟ้า บางครั้งก็เรียกว่า ตำนานรักหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า กล่าวถึงหนุ่มเลี้ยงวัวคนหนึ่งชื่อ หนิวหลาง (จีน: 牛郎; พินอิน: niú láng; แปลตรงตัวว่า เด็กเลี้ยงวัว หมายถึงดาวอัลแทร์) บังเอิญไปพบนางฟ้าเจ็ดองค์เสด็จลงจากสวรรค์เพื่อมาเล่นน้ำในทะเลสาบ วัวตัวหนึ่งของเขากระซิบบอกวิธี เขาจึงไปขโมยเสื้อผ้าของพวกนางมาแล้วคอยเฝ้าดู เมื่อนางฟ้าทั้งเจ็ดองค์เล่นน้ำเสร็จแล้วหาเสื้อผ้าของตนไม่พบ จึงให้น้องสาวคนสุดท้องชื่อ จือหนี่ (จีนตัวเต็ม: 織女; จีนตัวย่อ: 织女; พินอิน: zhī nǚ; แปลตรงตัวว่า หญิงทอผ้า หมายถึงดาวเวกา) เพื่อมาเจรจาขอเสื้อผ้าคืน หนิวหลางขอให้นางแต่งงานกับเขา และนางก็ยินยอม นางฟ้าผู้พี่ทั้งหมดจึงได้กลับคืนสู่สวรรค์ ส่วนจือหนี่ได้อาศัยอยู่กับหนิวหลาง และเป็นภรรยาที่ดียิ่ง หนิวหลางรักนางมาก ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คน จือหนี่มีฝีมือในการทอผ้า ผ้าที่นางทอจะมีสีสรรสวยงามไม่มีผู้ใดทัดเทียมได้ พวกเขานำไปขายได้เงินดีและมีชีวิตที่ดี
   เง็กเซียนฮองเฮาผู้เป็นมารดาของเหล่านางฟ้า เมื่อได้ทราบว่าบุตรสาวของตนไปแต่งงานกับคนธรรมดาก็กริ้วโกรธ ออกคำสั่งให้จือหนี่กลับสู่สวรรค์ ฝ่ายหนิวหลางเมื่อกลับมาพบภรรยาของตนหายตัวไปก็เศร้าโศกเสียใจ ทันใดนั้นวัวของเขาก็เอ่ยคำพูดออกมาอีกครั้ง บอกให้หนิวหลางฆ่าตนเสีย แล้วเอาหนังคลุมร่างเพื่อจะได้ไปสวรรค์ตามหาภรรยาได้ หนิวหลางฆ่าวัวด้วยน้ำตา ครั้นเมื่อเอาหนังมาคลุมร่างเขากับบุตรทั้งสองก็เหาะไปยังแดนสวรรค์ตามหาจือ หนี่ เง็กเซียนฮองเฮาพบพวกเขาขึ้นมาบนสวรรค์ก็โกรธ ดึงปิ่นปักผมของนางออกมาแล้วกรีดท้องฟ้าออกกลายเป็นแม่น้ำกว้าง ทำให้คู่รักทั้งสองต้องแยกจากกันตลอดกาล (แม่น้ำนั้นบนโลกรู้จักในชื่อ ทางช้างเผือก ซึ่งกั้นขวางระหว่างดาวอัลแทร์กับดาวเวกา) จือหนี่เฝ้าแต่ทอผ้าคอยอยู่ฟากหนึ่งของแม่น้ำอย่างเศร้าสร้อย ขณะที่หนิวหลางดูแลบุตรสองคนของพวกเขา (คือดาวข้างเคียงในกลุ่มดาวเดียวกัน ได้แก่ β อินทรี และ γ อินทรี)
ทว่ามีเพียงวันเดียวในรอบปี ที่เหล่านกกระเรียนจะมาเรียงตัวกันด้วยความเมตตาสงสาร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อให้คนทั้งสองสามารถข้ามมาพบกัน (เรียกว่า 鵲橋 Que Qiao ฉวีเฉียว หรือสะพานนกกระเรียน) สะพานทอดข้ามดาวเดเน็บในกลุ่มดาวหงส์ ทำให้จือหนี่ หนิวหลาง และลูกๆ มาพบกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ของปี เพียงวันเดียวเท่านั้น
    เล่ากันว่าถ้ามีฝนตกในคืนแห่งเลขเจ็ด นั่นคือน้ำตาของหนิวหลางและจือหนี่ที่ร่ำไห้กับความรันทดในชีวิตของตน

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำอวยพรของชาวจีนเพื่อให้เกิดความศิริมงคล

ตำอวยพรของชาวจีนเพื่อให้เกิดความศิริมงคล


ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่
  • 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ) นิยมใช้ในประเทศจีน
  • 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
  • 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย ฮกเกี้ยน:ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินเหนียนฮวดจ๋าย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
  • 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย )
  • 大吉大利 (ฮกเกี้ยน:ตั่วเก็ตตั่วลี่ ) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ หรือ ค่าขายได้กำไร
  • 招财进宝 (ฮกเกี้ยน:จ่ายหงวนก้องกิม ) แปลว่า เงินทองไหลมา
  • 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน:กิ้มหยกมมั่วต๋อง ) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
  • 万事如意 (ฮกเกี้ยน:บ่านสู่หยู่อี่ ) แปลว่า ทุกเรื่องสมปรารถนา
  • 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (ฮกเกี้ยน:ฮกซิ่วบันบั่นนี่ จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน แปลว่า อายุยืนพันๆปี )
  • 家好運氣 / 家好运气(ฮกเกี้ยน:เก่โฮ่อุ๊นคิ จีนกลาง:จาร์ห่าวเยียนชี แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน )
  • เกียโฮ่ซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
  • 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน:หนีนี้ตั๊วถั่นฉี่) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล
  • เป๋งอิ่วเตียวคิ ในภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า เพื่อนมิตรมีสุข



วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตำนานความเป็นมาของวันตรุษจีน

ประวัติความเป็นมา  หรือ  ตำนานของตรุษจีน

ตำนานความเป็นมาของวันตรุษจีน
ตรุษจีน เป็นวันสำคัญของจีนที่มีมาแต่โบราณที่เรียกว่า “กว้อชุนเจี๋ย” หรือ “กว้อเหนียน” เล่ากันว่าในสมัยโบราณ ในป่าทึบแห่งหนึ่ง มีสัตว์ป่าที่ดุร้ายและน่ากลัวมากตัวหนึ่ง เรียกว่า “เหนียน” มันออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ พระเจ้าจึงลงโทษมัน อนุญาตให้มันลงมาจากเขาได้เพียงหนึ่งครั้งใน 365 วัน ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวใกล้จะผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิเวียนมาใกล้ เหนียน ก็จะออกมาทำร้ายผู้คน เพื่อป้องกันการมาของ เหนียน ทุก ๆ ครัวเรือนจึงต่างสะสมเสบียงอาหาร และกับข้าวจำนวนหนึ่งไว้ในบ้าน เมื่อถึงตอนค่ำของวันที่ 30 เดือน 12 ก็จะปิดประตูและหน้าต่างเอาไว้ ไม่หลับไม่นอนตลอดคืน เพื่อต่อสู้กับ เหนียน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้าก็จะเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 1 เมื่อ เหนียน กลับไปแล้ว ทุก ๆ ครัวเรือนก็จะเปิดประตูออกมาแสดงความยินดีต่อกัน ที่โชคดีไม่ได้ถูก เหนียน ทำร้าย
ต่อมาพบว่า เหนียน มีจุดอ่อน มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อเหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังหวดแส้เล่นกันเมื่อ เหนียน ได้ยินเสียงแส้ดังเปรี้ยงปร้างก็เลยตกใจเผ่นหนีไป เมื่อ เหนียน ไปถึงหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง เห็นมีชุดเสื้อผ้าสีแดงตากอยู่หน้าบ้านของครอบครัวหนึ่ง สีแดงฉูดฉาดนั้น ทำให้ เหนียน ตกใจและเผ่นหนีไปอีก เมื่อ เหนียน มาถึงหมู่บ้านแห่งที่สาม ปรากฏว่าไปพบเห็นกองเพลิงกองหนึ่งบนถนน แสงเพลิงที่เจิดจ้าทำให้ เหนียน ต้องเผ่นหนีไปอีก ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนต่างรู้ว่า แม้ว่า เหนียน จะดุร้ายแต่มันก็กลัวสีแดง เสียงดังและไฟ ทำให้ผู้คนสามารถคิดหาวิธีกำจัด เหนียน ได้โดยไม่ยากนัก
 เมื่อวันส่งท้ายตรุษจีนเวียนมาอีกครั้งหนึ่ง ทุกๆ ครัวเรือนจึงต่างนำกระดาษสีแดงมาติดไว้บนประตูหน้าบ้าน แขวนโคมไฟสีแดง พร้อมกับจุดประทัดและตีฆ้องรัวกลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อ เหนียน มาถึงในตอนเย็น เห็นทุก ๆ ครัวเรือนมีแสงไฟสว่างไสว มีเสียงประทัดดังสนั่นจึงตกใจเผ่นหนีกลับเข้าป่าไป และไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ทุก ๆ คนจึงผ่านพ้นคืนแห่งอันตรายไปอย่างปลอดภัย เมื่อฟ้าสางแล้ว ผู้คนจึงออกมาจากบ้าน กล่าวคำอวยพรซึ่งกันและกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการนำอาหารออกมารับประทานร่วมกันอย่างสนุกสนาน

ความหมายมงคลของสิงโตหรือสิงห์ (ไซ หรือจอหงวนไซ) ตามความเชื่อของชาวจีน

ความหมายมงคลของสิงโตหรือสิงห์ (ไซ หรือจอหงวนไซ)  ตามความเชื่อของชาวจีน


เป็นสัตว์มงคลที่มีอำนาจในภาคพื้นดิน ให้คุณทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง
บางตำนานเล่าว่า สิงห์ไม่ใช่สัตว์พื้นบ้านของจีน แต่มีในถิ่นแอฟริกา มีนักเดินทางชาวจีนไปเห็น ก็
ชอบมาก แต่ไม่สามารถนำกลับประเทศได้ จึงจดจำกลับมาสร้างภาพตามจินตนาการ มีความสง่างามกำยำล่ำสัน เสียงร้องก้องกังวาน ถือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งปวง สิงห์จึงเป็นที่ชื่นชม เคารพบูชาตั้งแต่กษัตริย์ จนถึงขุนนาง และนิยมจัดตั้งสิงห์คู่ไว้หน้าสถานที่สำคัญ เช่นหน้าพระราชวัง โบสถ์ วัด
ยังมีบางตำนานกล่าวอีกว่า สิงห์ตัวผู้ และตัวเมียหยอกล้อเล่นกัน ขนของมันที่หลุดออกจากตัวเกาะกันเป็นลูกกลมๆ และต่อมาก็มีสิงห์ตัวเล็กออกจากก้อนกลมนั้น เราจึงเห็นรูปปั้นสิงห์ตัวผู้ (หวงไซจื้อ) จะเหยียบลูกโลก หรือลูกบอล ตัวเมีย (ฉือไซจื้อ) เหยียบลูกไว้
ชาวจีนเชื่อว่า การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ ให้กับสถานที่นั้นๆอย่างยอดเยี่ยม

ตัวอักษรเสริมศิริมงคลของชาวจีน

ตัวอักษรเสริมศิริมงคล贺词 ของชาวจีน

ประเภทของหัวสิงโต

ประเภทของหัวสิงโต
สิงโตของชาวจีนสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิงโตเหนือ สิงโตใต้ ดังนี้ 1. สิงโตเหนือ เป็นการนำเอาสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างหุ่นสิงโตให้มีขนยาว ขาเล็ก ร่างเล็กซึ่งผู้เชิดสิงโตต้องสวมชุดสิงโตที่มีขนยาวปกคลุม การเชิดสิงโตเหนืออาจเชิดคนเดียว หรือสองคนก็ได้ สิงโตเหนือ เรียกว่า สิงโตปักกิ่ง 2. สิงโตใต้ นิยมนำมาเชิดกันอย่างแพร่หลาย ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี และฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) แต่ต่อมาภายหลังชาวจีนที่เคยอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน รวมทั้งชาวจีนที่เคยฝึกหัดการเชิดสิงโต โดยเฉพาะ ผู้ที่เคยอยู่อาศัยภายในมณฑลกว่างตงหรือกวางตุ้งได้อพยพไปอยู่ยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก สิงโตกวางตุ้งจึงได้รับ การรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ได้รับรูปแบบการเชิดแบบกวางตุ้ง มาใช้เชิดอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้การเชิดสิงโตยังสามารถแบ่งออกตามรูปร่างลักษณะของหัวสิงโตที่กลุ่มชาวจีนแต่ละกลุ่มเป็น ผู้ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ 1. สิงโตของชาวจีนแคระ หัวสิงโตมีลักษณะคล้ายกับบุ้งกี๋ ใบหน้าจะทาสีให้เป็นลายเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โต ๆ 2. สิงโตกวางตุ้ง หัวสิงโตแบบนี้อาจจะประดับประดากระจกที่หน้า มีการเขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอ ที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง 3. สิงโตไหหลำ กลุ่มชาวจีนไหหลำได้มีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้รูปหัวสิงโต ของกลุ่มชาวจีนไหหลำมีลักษณะแตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด 4. สิงโตแต้จิ๋วหรือสิงโตปักกิ่ง หรือสิงโตกวางเจา มีลักษณะคล้ายกับหมาจู มีขนปุกปุย ตาโต มีโบว์ ที่ศรีษะ และติดกระดิ่งไว้ที่ใต้คาง เวลาที่ทำการแสดงอาจจะทำการแสดงสองตัวขึ้นไป

สีของหัวสิงโต

สีของหัวสิงโต
ชาวจีนใช้สีของหัวสิงโตเป็นเครื่องหมายแทนสัญลักษณ์ของบุคคล ทั้งยังแสดงถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1.หัวสิงโตสีเขียว เรียกว่า “ตั่วกง” หมายถึง เล่าปี่ ตัวละครเอกในเรื่องสามก๊ก ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทน ความมีอำนาจหยิ่งในศักดิ์ศรี มีข้าทาสบริวารมาก 2. หัวสิงโตสีแดง เรียกว่า “ยี่กง” หมายถึง กวนอู ตัวละครในเรื่องสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ โชคลาภ นักต่อสู้ 3. หัวสิงโตสีดำ เรียกว่า "ซากง" หมายถึง เตียวหุย ตัวละครสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์แทนความหนักแน่น ความยุติธรรม การเอาชนะอุปสรรคนานานัปการที่ผ่านเข้ามาในชีวิต 4. หัวสิงโตสีเหลือง เรียกว่า “สี่กง” หมายถึง จูล่ง ตัวละครเรื่องสามก๊ก บางตำราก็แทนกวนเพ้ง เป็น สัญลักษณ์แทนผู้มีอำนาจ ยศศักดิ์

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต
ในอดีตประเทศจีนมีการจัดตั้งคณะสิงโตขึ้น โดยคณะใหญ่ ๆ จะมีผู้เข้าร่วมอยู่ในคณะระหว่าง 70 - 80 คน โดยต้องใช้เวลาในการ ฝึกฝนการเชิดสิงโตไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน จึงจะออกแสดงได้ ทั้งในคณะสิงโตก็ไม่ได้ ฝึกฝนการเชิดสิงโตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการหัดมวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่น ๆ เวลาออกแสดง ในแต่ละครั้งต้องใช้ลานที่มีความกว้างขวางมาก ๆ เพราะต้องทำการแสดงจับคู่ต่อสู้กัน ซึ่งการแต่งตัวนั้น ก็ยังมี ความแตกต่างกัน ที่สำคัญคณะสิงโตของจีนมีการพันแข้ง ที่เรียกว่า คาเกี๊ยว มัดตั้งแต่ข้อเท้า แล้วยังมีผ้าคาดเอว อีกด้วย ดังนั้นคณะสิงโตของชาวจีนในอดีตก็คือ คณะมวยหรือสำนักมวย ที่เรียกว่า “กุ่งอ๊วง” ซึ่งหัวสิงโตที่นำมาใช้ในการเชิดนั้น มีหัวเป็นสีเขียว คิ้วสีขาว ภาษาจีนเรียกว่า “แชไซแปะไบ๊” สิงโตแบบนี้เมื่อถูกนำไปเล่นในที่ ต่างถิ่นมักถูกเจ้าของถิ่นลองดี โดยการส่งนักมวยจีนหรือนักกระบี่กระบองมาขอซ้อมมือ ซึ่งถ้าเกิดต้องพ่ายแพ้แก่ เจ้าของถิ่น ผู้มาเยือนก็ต้องได้รับความอับอายเขา จนต้องรีบเดินทางกลับสำนักมวยของตน แต่ถ้าหากรักจะเล่นก็ ต้องส่งตัวแทนไปคำนับหัวหน้าคณะมวยเจ้าของถิ่นเสียก่อน จึงจะทำให้สามารถแสดงการเชิดสิงโตได้โดยไม่ต้อง ถูกเจ้าของถิ่นลองดี การเชิดสิงโตนั้นเป็นการเลียนแบบอากัปกิริยาของสัตว์ 2 ชนิด คือ 1. ชาวจีนที่อยู่ในเมืองทางเหนือของแม่น้ำฉางเจีย(แม่น้ำแยงซีเกียง)จะแสดงเลียนแบบอากัปกิริยาของ สุนัข 2. ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของแม่น้ำฉางเจีย ได้นำเอากิริยาของแมวมาเป็นต้นแบบ การเชิดสิงโตในยุคแรกใช้ลีลาการร่ายรำเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบำสิงโต แต่หลังจากสมัยของราชวงศ์ชิง จึงค่อย ๆ ถูกหลอมรวมเข้ากับหลักวิทยายุทธ์ การเชิดสิงโตให้ดูสง่างดงาม มีชีวิตชีวา ต้องมีพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ และมั่นคง คนเชิดสิงโตต้องรู้จังหวะการยกเท้า คือ เมื่อยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นก็จะเหลือหลักไว้ยืนเพียงเท้าข้างเดียว ในขณะที่อากัปกิริยาของสิงโตหรือราชสีห์ ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด กลิ้งเกลือกหรืออื่น ๆ ก็ตาม หากผู้เชิดสิงโต ขาดความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่าง ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเชิดสิงโตให้ดูน่าเกรงขาม ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งท่วงท่าของการย่างเท้าที่ใช้ในการเชิดสิงโต ก็คือหลักของการใช้เท้าในการฝึกการต่อสู้ของจีน หรือ มวยจีนนั่นเอง

กีฬาเชิดสิงโต

กีฬาเชิดสิงโต
กีฬาเชิดสิงโต ถึงแม้จะมีกำเนิดจากประเทศจีน แต่กลับกลายเป็นกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขัน พร้อมจัดตั้งสหพันธ์กีฬามังกร สิงโตนานาชาติขึ้นมา เพื่อสร้างกติกาการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยมีแกนนำ คือ ประเทศมาเลเซีย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย
ในอดีตประเทศไทยเคยมีการจัดการแข่งขันความสามารถการเชิดสิงโตของคณะสิงโต ในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ ทั้งนี้มักขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เช่น การแสดงการต่อตัวโดยให้คนขึ้นไปยืนเหยียบอยู่บนบ่า หรือเหยียบศีรษะต่อกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ระหว่าง 5 - 9 ชั้น การใช้ไม้กระบอกยาว ๆ (ประมาณ 5 เมตร) เจาะรูทะลุ ทางตอนปลายแล้วเอาไม้สอดเป็นขั้นไว้ สำหรับให้ขึ้นไปยืนต่อตัว แถมบางครั้งยังเอาเด็กเล็ก ๆ ขึ้นไปยืนบนบ่า แล้วแกล้งทำเด็กหล่นลงจากบ่า แต่คว้าขาไว้ทัน การไต่เสาไม้ไผ่ที่ทาด้วยน้ำมันลื่น เพื่อปีนขึ้นไปเอาเงินที่ผูกไว้ที่ ปลายเสา การพุ่งตัวรอดบ่วงไฟ เป็นต้น ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาสิงโตของไทย ได้รับเอารูปแบบการแข่งขันกีฬา สิงโตแบบสากลเข้ามาใช้ในการแข่งขัน นั่นคือการเชิดสิงโตอยู่บนพื้น และการกระโดดขึ้นไปเชิดสิงโตอยู่บนเสา ต่างระดับหรือบนแป้นเสาดอกเหมย โดยแสดงการกระโดดที่ต้องใช้ท่าความยากง่ายผสมผสานไปกับจิตนาการของ ผู้เชิดสิงโต ที่ต้องการพยายามบอกเล่าเรื่องราวผ่านทางท่าทางหรืออากัปกิริยาของสิงโตที่แสดงออกมา ซึ่งปัจจุบัน การแข่งขันกีฬาสิงโตแบบสากลนี้ กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในประเทศไทย และในแต่ละปี ก็มีหลาย หน่วยงานได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นมาหลายรายการ ส่งผลให้คณะสิงโตของไทยมีพัฒนาการจนสามารถเข้าไปร่วม ทำการแข่งขันกีฬาสิงโตในระดับนานาชาติอยู่หลายคณะ

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬาเชิดสิงโต ได้แก่ กลอง, ฉาบ หรือแฉ, โล้หรือเง๊ง(มีรูปร่างเหมือนฆ้อง แต่แตกต่างกับ ฆ้องตรงที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลาง), หัวสิงโต นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นฉาก ที่ใช้ในการแสดง เปรียบเทียบแทนธรรมชาติต่าง ๆ ปัจจุบันอุปกรณ์แบบนี้มักเรียกกันว่า เสาดอกเหมยหรือโต๊ะ ที่ใช้ทำการแสดง ซึ่งทำจากเหล็กที่มีระดับของความสูงแตกต่างกันไป โดยให้บางส่วนสมมุติแทนภูเขา หุบเหว แม่น้ำ และสะพาน ตามจินตนาการที่ผู้เชิดต้องการแสดงบอกเล่าเรื่องที่ตนใช้ในขณะทำการแสดง อันเป็นวิธีการ สร้างความเข้าใจ ทั้งยังสื่อสารจินตนาการระหว่างผู้เชิดสิงโตกับผู้ชม ให้ได้รับอรรถรสในการเข้าชมการแสดง ตลอดจนบังเกิดความสนุกสนานร่วมไปกับผู้เชิดสิงโต

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต มังกรทุกชนิด

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต  มังกรทุกชนิด
จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต มังกรทุกชนิด อาทิ หัวสิงโต หัวมังกร กลอง แฉ เง้ง เสาดอกเหมย ชุดตาแป๊ะ อาซิ้ม ธงจีนนำตณะสิงโต เครื่องดนตรีจีน และอื่น ๆ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 0868379952

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ
ทีมสิงโตที่เข้าร่วมแข่งขันต้องประกอบด้วยนักกีฬาที่ลงสนามแข่งขันไม่ต่ำกว่า 6 คน แต่ต้องมีจำนวนไม่เกิน 8 คน และอาจมีผู้รักษาความปลอดภัยในขณะที่ทำการแข่งขัน(ทำการแสดง)จำนวนไม่เกิน 4 คน เวลาที่ใช้ในการทำ การแสดงต้องไม่ต่ำกว่า 10 นาที แต่ต้องไม่เกิน 15 นาที โดยต้องทำการแข่งขันอยู่บนแป้นเสาดอกเหมยต่างระดับ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากเครื่องแต่งกาย มารยาท อุปกรณ์ การดำเนินเรื่อง รูปร่างสิงโต การประสาน การเคลื่อนไหวของเท้าผู้ที่เชิดสิงโตระหว่างส่วนหัวกับส่วนหาง ความสอดคล้องของมโหรีที่มีต่อลีลาการเชิดสิงโต การแสดงออกซึ่งอากัปกิริยาของสิงโต(กิริยาอาการตกใจ ร่าเริง โกรธ สงสัย หลับใหล และอื่น ๆ)และความสามารถ ในการเล่นท่ายากทางเทคนิค โดยแต่ละท่าที่ทำการแสดงนั้น มีระดับของคะแนนตามความยากง่ายของท่าที่ใช้แสดง หากผู้เชิดสิงโตสามารถแสดงท่าเทคนิคนั้น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะได้คะแนนในท่านั้น ๆ ไป แต่หากผู้เชิดสิงโตทำ การแสดงท่าเทคนิคนั้นซ้ำหลายครั้ง ก็จะได้รับคะแนนเพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการบวกรวมตามจำนวนครั้งที่ทำไป

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต
การแข่งขันกีฬาสิงโตนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในนานาประเทศมานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศ ในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้กีฬาสิงโตมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็จริง แต่ทว่ากลับ ไม่สามารถเผยแพร่กีฬาสิงโตของตนให้ออกไปได้อย่างกว้างไกล ตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ กลับมีอิทธิพลต่อการเผยแพร่กีฬาสิงโตเป็นอย่างมาก ทั้งส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต วางกฎระเบียบกติกาการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตขึ้น พร้อมจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตขึ้นในหลายระดับ ดังเห็นว่า ในปัจจุบันหลายประเทศได้จัดให้มีการแข่งขันสิงโตนานาชาติขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเองก็เคยจัดให้มีการแข่งขัน กีฬาสิงโตระดับนานาชาติหลายครั้ง ที่สำคัญคือ การจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตชิงแชมป์โลกที่มักจัดการแข่งขัน ขึ้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกครั้งนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมชมการแข่งขันเป็น จำนวนมาก แม้ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันในอัตราที่สูงก็ตาม ซึ่งจากความสนใจของประชาชนใน หลายประเทศ มิใช่แต่เพียงประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในประเทศทางแถบเอเชียเท่านั้น แต่ก็ยังได้รับความสนใจจาก ประชาชนในทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอื่น ๆ ดังเห็นได้จากการที่ประเทศเหล่านี้ได้ส่งคณะสิงโตของตน เข้าร่วมทำการแข่งขันในระดับนานาชาติอยู่บ่อยครั้ง จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่อีกไม่นานการแข่งขันกีฬาสิงโต คงต้องถูกบรรจุเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากความสนใจของคนทั่วโลกที่มีต่อกีฬาสิงโตอย่างมาก นั่นเอง

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย
สิงโตที่เชิดอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันแม้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็ตาม แต่ทว่าที่แพร่หลายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยทุกวันนี้ มิได้เป็นการนำเข้ามาของชาวจีน แต่คนไทยรับเอารูปแบบการเชิดสิงโตผ่านมาทางญวณ หรือ เวียดนาม โดยญวนได้รับแบบอย่างมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง ก่อนนำเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย ดังที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า องเชียงสือ (เจ้าญวน) ได้ฝึกหัดคนญวนให้เล่นสิงห์โตล่อแก้ว และสิงห์โตคาบแก้ว เพื่อใช้ในการเล่นถวายตัวแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-โลก(รัชกาลที่ 1) ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้มีการเล่นถวายหน้าพลับพลาที่ประทับ ในเวลาที่มีมหรสพแบบแผน ทำให้การเล่นสิงโตมีการเล่นเป็นประเพณีสืบจนถึงรัชกาลต่อ ๆ มา ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นได้ว่า การเชิดสิงโตในประเทศไทยมีมานานนับร้อยปี สิงโตที่คนไทยรู้จัก และได้เห็นการเชิดสืบมาถึงปัจจุบันนั้น เป็นสิงโตทางตอนใต้ ของประเทศจีน อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวจีนที่ฝึกฝนศิลปะกังฟู การเชิดสิงโตของประเทศไทยอาจแตกต่าง กับประเทศจีน ตรงที่คนจีนจะเชิดสิงโตเฉพาะในช่วงตรุษจีนเป็นสำคัญ ขณะที่คนไทยกลับนำสิงโตมาใช้เชิดกัน เกือบทุกเทศกาล และวันมงคลต่าง ๆ อาทิ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันแต่งงาน วันเกิด งานฉลองต่าง ๆ เป็นต้น