หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับมังกรจีน

          เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวกับมังกรจีน




         "มังกร" เป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน แม้ว่ามังกรจะมีการกล่าวถึง ว่าเป็นสัตว์เทพในนิยายและตำนานของหลากหลายชาติ ทั้งทางเอเซียและยุโรป แต่มังกรจีนก็นับว่ามีตำนานที่ยาวนานและมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างออกไปจากมังกร ของทางตะวันตกอย่างเห็นได้ชัดเจน
        ตามคำบอกเล่าแต่โบราณแล้ว "มังกร" ในความเชื่อของชาวจีน มักได้รับการกล่าวขานในแง่ของความเป็นมิตรมากกว่าความร้ายกาจ และถูกยกให้เป็น สัญลักษณ์ที่นำมาซึ่งความสุขและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง มังกรในความเชื่อของจีนสามารถพบได้ในแม่น้ำและทะเลสาบ ชอบที่จะอยู่ท่ามกลางสายฝน ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างกฎแห่งความใจบุญ และเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจ ความเชื่อมั่นให้แก่กษัตริย์ อย่างในสมัยราชวงศ์ชิงกษัตริย์หรือฮ่องเต้จะต้องประทับบนบัลลังก์มังกร เดินทางโดยเรือมังกร เสวยอาหารบนโต๊ะมังกร และบรรทมบนเตียงมังกร ของใช้ต่างๆรวมถึงเสื้อผ้าก็จะตัดเย็บด้วยผ้าที่ประดับด้วยลวดลายมังกร โดยที่คนธรรมดาสามัญไม่สามารถตัดเย็บหรือใช้ของที่มีลายมังกรได้โดยเด็ดขาด และมังกรของจักรพรรดินั้นจะพิเศษกว่ามังกรโดยทั่วไป นั่นคือมันจะต้องมี 5 เล็บ
ลักษณะเฉพาะของมังกรจีน ตามพจนานุกรมจีน "มังกร" มีความหมายว่า

สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูคล้ายหูวัว ปีกคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมี ลักษณะคล้ายกบหรือหอยกาบ และเกล็ดเหมือนของปลาคาร์พ รูปร่างคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงร้องคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อหายใจลมหายใจของมันมีลักณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ
        มังกรจีนมีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่ขากรรไกรบน มีหนวดยาวลักษณะเหมือนไม้เลื้อย และมีแผงคอเหมือนของสิงโตอยู่บนคอ ,คาง และข้อศอก มีเกล็ด 117 แผ่น แบ่งออกเป็นหยินและหยาง โดย 81 แผ่นเป็นหยางมีความดี 36 แผ่นเป็นหยินมีความชั่ว เขามีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหางเป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน มีโหนกอยู่บนหัวไว้สำหรับบินเรียกว่า เชด เม่อ (chih muh) แต่ถ้าเขาไม่มีโหนกนี้ มังกรก็จะกำคทาเล็กๆที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ในการบินแทน 









สีของมังกรจีน

      มีหลายสี ตั้งแต่แกมเขียวจนถึงทองหรือบางแหล่งก็ว่ามังกรจีนมีสีน้ำเงิน ,ดำ ,ขาว ,แดง ,เขียว หรือเหลือง มังกรจีนในตำนานมีอิทฤทธิ สามารถทำตัวเองให้ใหญ่เท่ากับจักรวาล หรือให้เล็กเท่ากับหนอนไหม นอกจากนี้ยังมีนิสัยเมตตากรุณา ,เป็นมิตร ,ทะเยอทะยาน และมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ มังกรจีนยังฉลาด ,มีปัญญามาก ,มีความเด็ดขาดและมีพลัง จึงถูกยกย่องให้เป็นที่ปรึกษาของผู้นำ                  
ชนิดของมังกรจีน
คนจีนก็แทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามลักษณะของมังกรที่แตกต่างกันดังนี้


  1. พิว โหล (pu lao) ถูกสลักบนยอดของระฆังและฆ้องเพราะว่าเขามีนิสัยชอบส่งเสียงร้องดังเมื่อถูกโจมตี
  2. ไชยู (chiu) อยู่บนที่หมุนของซอตั้งแต่มังกรส่วนมากชอบดนตรี
  3. ไพ ไซ (pi his) ถูกสลักที่ส่วนบนของโต๊ะหินเนื่องจากความรักของมังกรที่มีต่อวรรณคดี
  4. พา ไซ อะ (pa hsai) พบได้ที่ฐานของอนุสาวรีย์หินในฐานะที่มังกรสามารถรับน้ำหนักมากได้
  5. เชโอะ เฟ่ง (chao feng) วางอยู่ที่ชายคาของวัดในฐานะที่มังกรตื่นตัวต่ออันตรายเสมอ
  6. เช่ย (chih) ปรากฏบนคานของสะพานตั้งแต่มังกรชอบน้ำ
  7. ซ่วง หนี่ (Suan ni) ถูกสลักบนบัลลังก์ของพระพุทธรูปในถานะที่มังกรชอบพักผ่อน
  8. เย่ สึ (Yai tzu) ถูกสลักบนด้ามดาบ ตั้งแต่มังกรถูกรู้ว่ามีความสามารถที่จะฆ่าได้
  9. ไพ ฮั่น (pi han) ถูกสลักบนประตูคุก เพราะมีมังกรที่ชอบการทะเลาะ และการสร้างปัญหา
กำเนิดมังกรจีน
                   ชาวจีนมีตำนานกล่าวว่า มังกรเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าอึ่งตี่หรือหวงตี้ โดยทรงมีพระราชประสงค์สร้างมังกร เพื่อให้เป็นเครื่องหมายประจำชาติ ด้วยการนำเอาสัญลักษณ์ของกลุ่มชนเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในประเทศจีนขณะนั้นมาผสมผสานกัน 








ความเชื่อที่เกี่ยวกับมังกร
มีตำนานกล่าวว่ามังกรเป็นสัตว์อมตะและยังมีอิทธิฤทธิ์มาก เนื่องจากมังกรมีลูกแก้ววิเศษอยู่ในปาก ทำให้สามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้หรือจะเดินดิน-ดำน้ำก็ได้ สามารถล่องหนหายตัวแปลงกายให้เล็ก ใหญ่ สั้นยาวก็ได้ ชาวจีนจึงยกย่องให้มังกรเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ทั้งยังเป็นพาหนะของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย ธรรมชาติของมังกรเป็นสัตว์ดุร้ายแต่ก็สามารถจะบันดาลประโยชน์สุข ให้บังเกิดแก่มวลมนุษย์ได้เช่นกัน เพราะมังกรสามารถทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆบันดาลให้เกิดฝน-ลม-ไฟ ช่วยกำจัดสิ่งชั่วร้าย ดังตำนานของชาวจีนที่เล่าต่อกันมาว่า เมืองจีนในช่วงฤดูหนาวบังเกิดความแห้งแล้ง มีสาเหตุมาจากเป็นช่วงเวลาที่มังกรหลับ แต่พอมังกรตื่นขึ้นมาจะนำพาเอาน้ำมาด้วยอย่างมากมายจนเกิดอุทกภัย สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งแผ่นดิน จากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนหมู่มากนี้เอง ทำให้เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ต้องลงโทษให้มังกรต้อง เข้าไปจำศีลภาวนาชดใช้กรรมอยู่ภายในถ้ำถึง 3,000 ปี จนมังกรบังเกิดบารมีจนกลายเป็นสัตว์ชั้นเทพ สามารถเหาะขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ได้ ทั้งยังต้องทำหน้าที่เฝ้าดูแลลูกแก้ววิเศษของเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์อีกด้วย เราจึงมักเห็นรูปวาดของมังกรจีนมีลูกแก้วอยู่ในมือ

การเชิดมังกร
 

               ตำนานการเชิดมังกรมีที่มาดังนี้ ตำนานเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่ง มังกรเกิดมีอาการปวดและคันที่เอวตลอดเวลารักษาด้วยวิธีการใดก็ไม่หาย จึงจำเป็นต้องแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อหาหมอที่เก่งกาจวิชาการแพทย์มาช่วย รักษา มังกรเข้ารับการรักษากับแพทย์หลายคนก็ไม่หาย จนได้ไปพบกับหมอท่านหนึ่งที่สามารถล่วงรู้ได้ว่า แท้จริงผู้ที่มาขอรับการรักษานั้นมิใช่มนุษย์ธรรมดา จึงสั่งให้มังกรคืนร่างเดิมเป็นมังกรเพื่อหมอจะได้ตรวจอาการป่วยที่แท้จริง ซึ่งหลังจากการตรวจ หมอได้พบตะขาบตัวหนึ่งซ่อนอยู่ที่ใต้เกล็ดมังกร จึงจับตะขาบออกมาแล้วใส่ยาตรงที่ถูกตะขาบกัดให้ทำให้มังกรหายป่วย มังกรจึงอนุญาตให้มนุษย์สามารถทำหุ่นมังกรออกแห่ได้ปีละครั้ง ในยามใดที่หุ่นมังกรปรากฏฝนก็จะตกลงมา ทั้งขจัดสิ่งที่ชั่วร้ายให้หมดสิ้นไปส่งผลให้เกิดประเพณีแห่มังกรนับแต่นั้น เป็นต้นมา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้เชิดสิงโต โดยเฉพาะผู้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต ควรมีความรู้เกี่ยวกับกติกาเป็นอย่างดี

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ประเภทของหัวสิงโต

ประเภทของหัวสิงโต
สิงโตของชาวจีนสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สิงโตเหนือ สิงโตใต้ ดังนี้ 1. สิงโตเหนือ เป็นการนำเอาสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง มาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างหุ่นสิงโตให้มีขนยาว ขาเล็ก ร่างเล็กซึ่งผู้เชิดสิงโตต้องสวมชุดสิงโตที่มีขนยาวปกคลุม การเชิดสิงโตเหนืออาจเชิดคนเดียว หรือสองคนก็ได้ สิงโตเหนือ เรียกว่า สิงโตปักกิ่ง 2. สิงโตใต้ นิยมนำมาเชิดกันอย่างแพร่หลาย ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) กว่างซี และฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) แต่ต่อมาภายหลังชาวจีนที่เคยอาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศจีน รวมทั้งชาวจีนที่เคยฝึกหัดการเชิดสิงโต โดยเฉพาะ ผู้ที่เคยอยู่อาศัยภายในมณฑลกว่างตงหรือกวางตุ้งได้อพยพไปอยู่ยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก สิงโตกวางตุ้งจึงได้รับ การรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ได้รับรูปแบบการเชิดแบบกวางตุ้ง มาใช้เชิดอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้การเชิดสิงโตยังสามารถแบ่งออกตามรูปร่างลักษณะของหัวสิงโตที่กลุ่มชาวจีนแต่ละกลุ่มเป็น ผู้ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ 1. สิงโตของชาวจีนแคระ หัวสิงโตมีลักษณะคล้ายกับบุ้งกี๋ ใบหน้าจะทาสีให้เป็นลายเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โต ๆ 2. สิงโตกวางตุ้ง หัวสิงโตแบบนี้อาจจะประดับประดากระจกที่หน้า มีการเขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอ ที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง 3. สิงโตไหหลำ กลุ่มชาวจีนไหหลำได้มีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้รูปหัวสิงโต ของกลุ่มชาวจีนไหหลำมีลักษณะแตกต่างจากชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ อย่างเด่นชัด 4. สิงโตแต้จิ๋วหรือสิงโตปักกิ่ง หรือสิงโตกวางเจา มีลักษณะคล้ายกับหมาจู มีขนปุกปุย ตาโต มีโบว์ ที่ศรีษะ และติดกระดิ่งไว้ที่ใต้คาง เวลาที่ทำการแสดงอาจจะทำการแสดงสองตัวขึ้นไป

สีของหัวสิงโต

สีของหัวสิงโต
ชาวจีนใช้สีของหัวสิงโตเป็นเครื่องหมายแทนสัญลักษณ์ของบุคคล ทั้งยังแสดงถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1.หัวสิงโตสีเขียว เรียกว่า “ตั่วกง” หมายถึง เล่าปี่ ตัวละครเอกในเรื่องสามก๊ก ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทน ความมีอำนาจหยิ่งในศักดิ์ศรี มีข้าทาสบริวารมาก 2. หัวสิงโตสีแดง เรียกว่า “ยี่กง” หมายถึง กวนอู ตัวละครในเรื่องสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ โชคลาภ นักต่อสู้ 3. หัวสิงโตสีดำ เรียกว่า "ซากง" หมายถึง เตียวหุย ตัวละครสามก๊ก เป็นสัญลักษณ์แทนความหนักแน่น ความยุติธรรม การเอาชนะอุปสรรคนานานัปการที่ผ่านเข้ามาในชีวิต 4. หัวสิงโตสีเหลือง เรียกว่า “สี่กง” หมายถึง จูล่ง ตัวละครเรื่องสามก๊ก บางตำราก็แทนกวนเพ้ง เป็น สัญลักษณ์แทนผู้มีอำนาจ ยศศักดิ์

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต

ประวัติความเป็นมาของการฝึกหัดเชิดสิงโต
ในอดีตประเทศจีนมีการจัดตั้งคณะสิงโตขึ้น โดยคณะใหญ่ ๆ จะมีผู้เข้าร่วมอยู่ในคณะระหว่าง 70 - 80 คน โดยต้องใช้เวลาในการ ฝึกฝนการเชิดสิงโตไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน จึงจะออกแสดงได้ ทั้งในคณะสิงโตก็ไม่ได้ ฝึกฝนการเชิดสิงโตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีการหัดมวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่น ๆ เวลาออกแสดง ในแต่ละครั้งต้องใช้ลานที่มีความกว้างขวางมาก ๆ เพราะต้องทำการแสดงจับคู่ต่อสู้กัน ซึ่งการแต่งตัวนั้น ก็ยังมี ความแตกต่างกัน ที่สำคัญคณะสิงโตของจีนมีการพันแข้ง ที่เรียกว่า คาเกี๊ยว มัดตั้งแต่ข้อเท้า แล้วยังมีผ้าคาดเอว อีกด้วย ดังนั้นคณะสิงโตของชาวจีนในอดีตก็คือ คณะมวยหรือสำนักมวย ที่เรียกว่า “กุ่งอ๊วง” ซึ่งหัวสิงโตที่นำมาใช้ในการเชิดนั้น มีหัวเป็นสีเขียว คิ้วสีขาว ภาษาจีนเรียกว่า “แชไซแปะไบ๊” สิงโตแบบนี้เมื่อถูกนำไปเล่นในที่ ต่างถิ่นมักถูกเจ้าของถิ่นลองดี โดยการส่งนักมวยจีนหรือนักกระบี่กระบองมาขอซ้อมมือ ซึ่งถ้าเกิดต้องพ่ายแพ้แก่ เจ้าของถิ่น ผู้มาเยือนก็ต้องได้รับความอับอายเขา จนต้องรีบเดินทางกลับสำนักมวยของตน แต่ถ้าหากรักจะเล่นก็ ต้องส่งตัวแทนไปคำนับหัวหน้าคณะมวยเจ้าของถิ่นเสียก่อน จึงจะทำให้สามารถแสดงการเชิดสิงโตได้โดยไม่ต้อง ถูกเจ้าของถิ่นลองดี การเชิดสิงโตนั้นเป็นการเลียนแบบอากัปกิริยาของสัตว์ 2 ชนิด คือ 1. ชาวจีนที่อยู่ในเมืองทางเหนือของแม่น้ำฉางเจีย(แม่น้ำแยงซีเกียง)จะแสดงเลียนแบบอากัปกิริยาของ สุนัข 2. ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางใต้ของแม่น้ำฉางเจีย ได้นำเอากิริยาของแมวมาเป็นต้นแบบ การเชิดสิงโตในยุคแรกใช้ลีลาการร่ายรำเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า ระบำสิงโต แต่หลังจากสมัยของราชวงศ์ชิง จึงค่อย ๆ ถูกหลอมรวมเข้ากับหลักวิทยายุทธ์ การเชิดสิงโตให้ดูสง่างดงาม มีชีวิตชีวา ต้องมีพื้นฐานในการเคลื่อนไหวที่แม่นยำ และมั่นคง คนเชิดสิงโตต้องรู้จังหวะการยกเท้า คือ เมื่อยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นก็จะเหลือหลักไว้ยืนเพียงเท้าข้างเดียว ในขณะที่อากัปกิริยาของสิงโตหรือราชสีห์ ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด กลิ้งเกลือกหรืออื่น ๆ ก็ตาม หากผู้เชิดสิงโต ขาดความแข็งแกร่งของร่างกายส่วนล่าง ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเชิดสิงโตให้ดูน่าเกรงขาม ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งท่วงท่าของการย่างเท้าที่ใช้ในการเชิดสิงโต ก็คือหลักของการใช้เท้าในการฝึกการต่อสู้ของจีน หรือ มวยจีนนั่นเอง

กีฬาเชิดสิงโต

กีฬาเชิดสิงโต
กีฬาเชิดสิงโต ถึงแม้จะมีกำเนิดจากประเทศจีน แต่กลับกลายเป็นกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการแข่งขัน พร้อมจัดตั้งสหพันธ์กีฬามังกร สิงโตนานาชาติขึ้นมา เพื่อสร้างกติกาการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยมีแกนนำ คือ ประเทศมาเลเซีย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเล่นกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย
ในอดีตประเทศไทยเคยมีการจัดการแข่งขันความสามารถการเชิดสิงโตของคณะสิงโต ในรูปแบบลักษณะต่าง ๆ ทั้งนี้มักขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น เช่น การแสดงการต่อตัวโดยให้คนขึ้นไปยืนเหยียบอยู่บนบ่า หรือเหยียบศีรษะต่อกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ระหว่าง 5 - 9 ชั้น การใช้ไม้กระบอกยาว ๆ (ประมาณ 5 เมตร) เจาะรูทะลุ ทางตอนปลายแล้วเอาไม้สอดเป็นขั้นไว้ สำหรับให้ขึ้นไปยืนต่อตัว แถมบางครั้งยังเอาเด็กเล็ก ๆ ขึ้นไปยืนบนบ่า แล้วแกล้งทำเด็กหล่นลงจากบ่า แต่คว้าขาไว้ทัน การไต่เสาไม้ไผ่ที่ทาด้วยน้ำมันลื่น เพื่อปีนขึ้นไปเอาเงินที่ผูกไว้ที่ ปลายเสา การพุ่งตัวรอดบ่วงไฟ เป็นต้น ปัจจุบันการแข่งขันกีฬาสิงโตของไทย ได้รับเอารูปแบบการแข่งขันกีฬา สิงโตแบบสากลเข้ามาใช้ในการแข่งขัน นั่นคือการเชิดสิงโตอยู่บนพื้น และการกระโดดขึ้นไปเชิดสิงโตอยู่บนเสา ต่างระดับหรือบนแป้นเสาดอกเหมย โดยแสดงการกระโดดที่ต้องใช้ท่าความยากง่ายผสมผสานไปกับจิตนาการของ ผู้เชิดสิงโต ที่ต้องการพยายามบอกเล่าเรื่องราวผ่านทางท่าทางหรืออากัปกิริยาของสิงโตที่แสดงออกมา ซึ่งปัจจุบัน การแข่งขันกีฬาสิงโตแบบสากลนี้ กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในประเทศไทย และในแต่ละปี ก็มีหลาย หน่วยงานได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นมาหลายรายการ ส่งผลให้คณะสิงโตของไทยมีพัฒนาการจนสามารถเข้าไปร่วม ทำการแข่งขันกีฬาสิงโตในระดับนานาชาติอยู่หลายคณะ

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกีฬาเชิดสิงโต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬาเชิดสิงโต ได้แก่ กลอง, ฉาบ หรือแฉ, โล้หรือเง๊ง(มีรูปร่างเหมือนฆ้อง แต่แตกต่างกับ ฆ้องตรงที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลาง), หัวสิงโต นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นฉาก ที่ใช้ในการแสดง เปรียบเทียบแทนธรรมชาติต่าง ๆ ปัจจุบันอุปกรณ์แบบนี้มักเรียกกันว่า เสาดอกเหมยหรือโต๊ะ ที่ใช้ทำการแสดง ซึ่งทำจากเหล็กที่มีระดับของความสูงแตกต่างกันไป โดยให้บางส่วนสมมุติแทนภูเขา หุบเหว แม่น้ำ และสะพาน ตามจินตนาการที่ผู้เชิดต้องการแสดงบอกเล่าเรื่องที่ตนใช้ในขณะทำการแสดง อันเป็นวิธีการ สร้างความเข้าใจ ทั้งยังสื่อสารจินตนาการระหว่างผู้เชิดสิงโตกับผู้ชม ให้ได้รับอรรถรสในการเข้าชมการแสดง ตลอดจนบังเกิดความสนุกสนานร่วมไปกับผู้เชิดสิงโต

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต มังกรทุกชนิด

จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิกสิงโต  มังกรทุกชนิด
จำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชิดสิงโต มังกรทุกชนิด อาทิ หัวสิงโต หัวมังกร กลอง แฉ เง้ง เสาดอกเหมย ชุดตาแป๊ะ อาซิ้ม ธงจีนนำตณะสิงโต เครื่องดนตรีจีน และอื่น ๆ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ 0868379952

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ

กติกาการแข่งขันสิงโตนานาชาติ
ทีมสิงโตที่เข้าร่วมแข่งขันต้องประกอบด้วยนักกีฬาที่ลงสนามแข่งขันไม่ต่ำกว่า 6 คน แต่ต้องมีจำนวนไม่เกิน 8 คน และอาจมีผู้รักษาความปลอดภัยในขณะที่ทำการแข่งขัน(ทำการแสดง)จำนวนไม่เกิน 4 คน เวลาที่ใช้ในการทำ การแสดงต้องไม่ต่ำกว่า 10 นาที แต่ต้องไม่เกิน 15 นาที โดยต้องทำการแข่งขันอยู่บนแป้นเสาดอกเหมยต่างระดับ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากเครื่องแต่งกาย มารยาท อุปกรณ์ การดำเนินเรื่อง รูปร่างสิงโต การประสาน การเคลื่อนไหวของเท้าผู้ที่เชิดสิงโตระหว่างส่วนหัวกับส่วนหาง ความสอดคล้องของมโหรีที่มีต่อลีลาการเชิดสิงโต การแสดงออกซึ่งอากัปกิริยาของสิงโต(กิริยาอาการตกใจ ร่าเริง โกรธ สงสัย หลับใหล และอื่น ๆ)และความสามารถ ในการเล่นท่ายากทางเทคนิค โดยแต่ละท่าที่ทำการแสดงนั้น มีระดับของคะแนนตามความยากง่ายของท่าที่ใช้แสดง หากผู้เชิดสิงโตสามารถแสดงท่าเทคนิคนั้น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะได้คะแนนในท่านั้น ๆ ไป แต่หากผู้เชิดสิงโตทำ การแสดงท่าเทคนิคนั้นซ้ำหลายครั้ง ก็จะได้รับคะแนนเพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการบวกรวมตามจำนวนครั้งที่ทำไป

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต

การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต
การแข่งขันกีฬาสิงโตนั้นได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในนานาประเทศมานานแล้ว โดยเฉพาะประเทศ ในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้กีฬาสิงโตมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็จริง แต่ทว่ากลับ ไม่สามารถเผยแพร่กีฬาสิงโตของตนให้ออกไปได้อย่างกว้างไกล ตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ กลับมีอิทธิพลต่อการเผยแพร่กีฬาสิงโตเป็นอย่างมาก ทั้งส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโต วางกฎระเบียบกติกาการแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตขึ้น พร้อมจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตขึ้นในหลายระดับ ดังเห็นว่า ในปัจจุบันหลายประเทศได้จัดให้มีการแข่งขันสิงโตนานาชาติขึ้น รวมทั้งประเทศไทยเองก็เคยจัดให้มีการแข่งขัน กีฬาสิงโตระดับนานาชาติหลายครั้ง ที่สำคัญคือ การจัดให้มีการแข่งขันกีฬาสิงโตชิงแชมป์โลกที่มักจัดการแข่งขัน ขึ้นในประเทศมาเลเซีย ซึ่งการแข่งขันที่จัดขึ้นทุกครั้งนั้นได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมชมการแข่งขันเป็น จำนวนมาก แม้ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันในอัตราที่สูงก็ตาม ซึ่งจากความสนใจของประชาชนใน หลายประเทศ มิใช่แต่เพียงประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในประเทศทางแถบเอเชียเท่านั้น แต่ก็ยังได้รับความสนใจจาก ประชาชนในทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอื่น ๆ ดังเห็นได้จากการที่ประเทศเหล่านี้ได้ส่งคณะสิงโตของตน เข้าร่วมทำการแข่งขันในระดับนานาชาติอยู่บ่อยครั้ง จึงมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่อีกไม่นานการแข่งขันกีฬาสิงโต คงต้องถูกบรรจุเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากความสนใจของคนทั่วโลกที่มีต่อกีฬาสิงโตอย่างมาก นั่นเอง

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย

ประวัติการเชิดสิงโตในประเทศไทย
สิงโตที่เชิดอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันแม้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนก็ตาม แต่ทว่าที่แพร่หลายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยทุกวันนี้ มิได้เป็นการนำเข้ามาของชาวจีน แต่คนไทยรับเอารูปแบบการเชิดสิงโตผ่านมาทางญวณ หรือ เวียดนาม โดยญวนได้รับแบบอย่างมาจากจีนอีกทอดหนึ่ง ก่อนนำเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย ดังที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า องเชียงสือ (เจ้าญวน) ได้ฝึกหัดคนญวนให้เล่นสิงห์โตล่อแก้ว และสิงห์โตคาบแก้ว เพื่อใช้ในการเล่นถวายตัวแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-โลก(รัชกาลที่ 1) ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้มีการเล่นถวายหน้าพลับพลาที่ประทับ ในเวลาที่มีมหรสพแบบแผน ทำให้การเล่นสิงโตมีการเล่นเป็นประเพณีสืบจนถึงรัชกาลต่อ ๆ มา ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นได้ว่า การเชิดสิงโตในประเทศไทยมีมานานนับร้อยปี สิงโตที่คนไทยรู้จัก และได้เห็นการเชิดสืบมาถึงปัจจุบันนั้น เป็นสิงโตทางตอนใต้ ของประเทศจีน อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาวจีนที่ฝึกฝนศิลปะกังฟู การเชิดสิงโตของประเทศไทยอาจแตกต่าง กับประเทศจีน ตรงที่คนจีนจะเชิดสิงโตเฉพาะในช่วงตรุษจีนเป็นสำคัญ ขณะที่คนไทยกลับนำสิงโตมาใช้เชิดกัน เกือบทุกเทศกาล และวันมงคลต่าง ๆ อาทิ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันแต่งงาน วันเกิด งานฉลองต่าง ๆ เป็นต้น